วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ผิดสัญญาหมั้น

หาก ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหมั้น

โดย...สฤษดิ์ ธัญกิจจานุกิจ

               ประเพณีการแต่งงานของคนไทย ก่อนที่จะมีการแต่งงานการย่อมมีการทาบทามกันก่อนโดยมีการหมั้น และการให้สินสอดแก่ฝ่ายหญิงในกรณีที่มีการหมั้นนั้นคือการที่ฝ่ายชายได้มอบ ทรัพย์สินให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและเป็นประกันว่าฝ่ายชายจะทำการสมรสกับหญิงนั้น ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 และมาตรา 1430 มีสาระสำคัญว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหมั้นคือ หากคู่หมั้นฝ่ายหนึ่งปฏิเสธไม่ยอมทำการกับคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง และในการหมั้นได้กำหนดวันที่เวลาที่จะสมรสกัน กรณีที่จะถือว่าผิดสัญญาหมั้นต่อเมื่อเวลาที่ตกลงกันได้ผ่านพ้นไป หรือคู่สัญญาหมั้นได้บอกปฏิเสธไม่สมรสอย่างชัดแจ้ง หรือทำให้การสมรสเป็นพ้นวิสัยได้ เช่น นายเอได้ทำการหมั้นนางสาวบีและตกลงที่จะแต่งงานในวันที่ 10 ตุลาคม 2552 ก่อนที่จะถึงวันที่ตกลงจะแต่งงาน หากนายเอเปลี่ยนใจไม่แต่งงานกับนางสาวบี โดยนายเอแต่งงานกับนางสาวกุ๊กไก่ ก็ทำให้นางสาวบีได้รับความเสียหายได้ นางสาวบีสามารถเรียกค่าทดแทนจากนายเอได้  หากการ หมั้นนั้นไม่ได้กำหนดวัน เวลา ที่จะสมรสโดยสัญญาแต่เพียงว่าจะทำการสมรสกัน ให้ถือว่าสัญญาหมั้นดังกล่าวมีข้อตกลงกันว่าจะทำการสมรสกันในเวลาเมื่อมีการ ทวงถาม  เช่น นายเอหมั้นนางสาวบี และไม่ได้ตกลงกันว่าจะแต่งงานในวันเวลาใด เมื่อเวลาผ่านไปทางฝ่ายของนางสาวบีทวงถามแก่ฝ่ายชายว่าจะทำการสมรสเมื่อไหร่ หากฝ่ายชายปฏิเสธหรือมีเหตุการณ์ใด ๆ เช่น นายเอแต่งงานกับหญิงอื่น ก็ถือว่าฝ่ายชายผิดสัญญาหมั้นแล้ว ฝ่ายหญิงก็สามารถเรียกค่าทดแทนได้

                       ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1440 ได้มีกฎหมายคุ้มครองไว้ในเรื่องนี้คือหากฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นมีสิทธิเรียก ให้รับผิดใช้ค่าทดแทน หากในกรณีที่หญิงผิดสัญญาก็ให้ฝ่ายหญิงคืนของหมั้นนั้นด้วย เช่น นางสาวบีไม่สามารถที่จะแต่งงานกับนายเอซึ่งเป็นชายคู่หมั้นได้ เนื่องจากนางสาวบีตกลงที่จะแต่งงานกับนายหนึ่ง เมื่อเป็นกรณีเช่นนี้ถิอว่านางสาวบีผิดสัญญาหมั้นต้องคืนชองหมั้นให้แก่นาย เอ

                       ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้

                       (1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น เช่น ฎีกาที่ 311/2522 ชายผิดสัญญาหมั้นฝ่ายชายคือตัวชาย บิดาและมารดาซึ่งไปหมั้นหญิงต้องร่วมกันใช้ค่าทดแทนความเสียหายต่อกาย โดยที่หญิงตกเป็นภริยาชายแม้ด้วยความสมัครใจ ความเสียหายต่อชื่อเสียง   และที่ได้เตรียมการสมรส

                       (2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคลผู้กระทำการ ในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้ เนื่องในการเตรียมการสมรส โดยสุจริตและตามสมควร เช่นพ่อหรือแม่ของฝ่ายหญิงได้เสียค่าใช้จ่ายในจัดเตรียมงานแต่งงานโดยเสีย ค่าใช้จ่ายในการซื้อที่นอนหมอนมุ้งไปเป็นจำนวน 30,000 บาท ฝ่ายหญิงก็สามารถเรียกค่าทดแทนจ่ายฝ่ายชายได้

                       (3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควรด้วยการคาด หมายว่าจะได้มีการสมรส เช่น หญิงลาออกจากงานประจำที่ทำอยู่ หรือขายทรัพย์สินของตนที่ใช้ในการประกอบอาชีพเพื่อที่จะทำการสมรสซึ่งอยู่ ต่างถิ่น